เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศกำหนดมาตรฐานควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตอุตสาหกรรม โดยมาตรฐานกลางนี้จะถูกนำมาใช้แทนมาตรฐานการควบคุมน้ำเสียสำหรับโรงงานและนิคมอุตสาหกรรม  ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2539 ซึ่งใช้งานมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี มาตรฐานฉบับใหม่เป็นการร่วมมือกันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมควบคุมมลพิษ โดยใช้เวลา 8 ปีในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมฉบับใหม่ดังกล่าวได้เน้นการปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์ให้ทันสมัยกับมาตรฐานการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการปัจจุบัน โดยมีการกำหนดค่ามาตรฐานเพิ่มจากเดิมจากเดิมเพียงบางค่าเท่านั้น ได้แก่

  • กำหนดค่ามาตรฐานของสีในน้ำทิ้งที่ 300 ADMI (มาตรฐานเดิมไม่เป็นที่รังเกียจ)
  • กำหนดวิธีการเก็บตัวอย่างเป็นแบบจ้วง สำหรับแหล่งกำเนิดมลพิษทุกประเภท (มาตรฐานเดิมใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแบบผสมรวมในกรณีน้ำทิ้งจากนิคมอุตสาหกรรม)
  • เปิดช่องทางให้มีจากจัดทำมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งเฉพาะประเภทอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ได้มีการระบุไว้ในประกาศว่ามาตรฐานการควบคุมจะมีผลบังคับใช้ในหนึ่งปีหลังจากการตีพิมพ์ (6 มิถุนายน พ.ศ. 2560)

การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งสำหรับโรงงานที่กำหนดขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ส่งผลให้จำเป็นต้องปรับปรุงมาตรฐานน้ำทิ้งที่ประกาศภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 กระทรวงอุตสาหกรรมมีการประกาศกำหนดมาตรฐานควบคุมคุณภาพน้ำจากโรงงาน พ.ศ. 2560 มาตรฐานนี้มีค่าควบคุมพารามิเตอร์และวิธีการวิเคราะห์เป็นไปตาม ควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตอุตสาหกรรม ที่ประกาศโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่กล่าวข้างต้น โดยในการประกาศมาตรฐานที่เหมือนกันของสองหน่วยงานภายใต้สองพระราชบัญญัติ อาจทำให้เกิดความสับสนว่าดำเนินการโดยวัตถุประสงค์อันใด โดยบทความนี้ได้สรุปคำถามที่พบบ่อยและคำตอบดังต่อไปนี้

  • ทำไมต้องมีสองมาตรฐานภายใต้สองพระราชบัญญัติ?  – มาตรฐานซึ่งประกาศภายใต้ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ถือเป็นการกำหนดขอกำหนดขั้นต่ำของประเทศไทย โดยมาตรฐานประกาศภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 จะถูกใช้โดยเจ้าพนักงานภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ดังนั้น การประกาศใช้มาตรฐานภายใต้พระราชบัญญัติเดียวกันกับที่ให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงงานจะช่วยให้สามารถบังคับการตามมาตรฐานดังกล่าวได้ง่ายขึ้น
  • มีข้อแตกต่างระหว่างสองมาตรฐานนี้หรือไม่? – มีสองข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างสองมาตรฐานนี้ ประการแรก มาตรฐานภายใต้พระราชปัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จะบังคับใช้กับกลุ่มโรงงานที่ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมลพิษทางน้ำ ได้แก่ โรงงานจำพวกที่ 2 และ 3 แต่มาตรฐานที่ประกาศใช้ภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 จะถูกบังคับใช้สำหรับโรงงานทุกจำพวก ทั้งจำพวกที่ 1, 2 และ 3 ประการที่สอง มาตรฐานภายใต้พระราชปัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จะครอบคลุมแหล่งมลพิษทางน้ำทุกประเภท ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตอุตสาหกรรม แต่มาตรฐานภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ครอบคลุมเฉพาะในการณีที่เป็นโรงงานเท่านั้น
  • มีข้อยกเว้นสำหรับโรงงานบางประเภทหรือไม่? ข้อยกเว้นตามที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้ภายใต้พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับจะมีผลต่อไปจนกว่าจะมีการกำหนดมาตรฐานเฉพาะประเภท สำหรับบางโรงงานปัจจุบันกรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรมกำลังทำงานร่วมกันในการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมเฉพาะประเภท ประกอบด้วยอุตสาหกรรมผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ อุตสาหกรรมฟอกหนัง อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมแป้ง โดยคาดว่าจะมีการประกาศใช้มาตรฐานเฉพาะประเภทบางประเภทภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพารามิเตอร์ “สี” เป็นพารามิเตอร์ที่ได้กำหนดให้ตรวจวัดขึ้นมาใหม่และไม่เคยได้รับการยกเว้น ส่งผลให้จะมีการบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป
  • การรายงานค่า “สี” และ “สารกำจัดศัตรูพืช” จะดำเนินการอย่างไร? – สำหรับค่า “สี” นั้นผู้ประกอบการจะต้องรายงานผลการวิเคราะห์เป็น 2 ค่า คือ 1. ค่า “สี” ภายใต้ค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำทิ้งปกติ และ ค่า “สี” ที่ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างเป็น 7 แล้ว ซึ่งทั้งสองค่าควรต่ำกว่าค่ามาตรฐานซึ่งกำหนดที่ 300 ADMI สำหรับกรณี “สารกำจัดศัตรูพืช” นั้น เนื่องจากมาตรฐานระบุว่าต้องไม่พบสารกำจัดศัตรูพืชในน้ำทิ้งแต่ไม่ระบุว่าสารกำจัดศัตรูพืชที่ควรจะวัดเป็นชนิดใด อย่างน้อยควรมีการวิเคราะห์พารามิเตอร์กลุ่มออร์กาโนคลอรีน เนื่องจากเป็นค่าที่ระบุไว้ในค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำในขณะนี้

ขณะนี้ กรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้มีความร่วมมือกันในการจัดมาตรฐานน้ำทิ้งเฉพาะประเภทอุตสาหกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยคาดว่าจะมีการประกาศมาตรฐานน้ำทิ้งเฉพาะประเภทอุตสาหกรรมเหล่านี้ออกมาตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป

 

ตารางเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานน้ำทิ้งในประเทศไทย

พารามิเตอร์ มาตราฐานเดิม มาตราฐานปัจจุบัน
สี ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ 300 ADMI
TDS 3,000-5,000 มก./ล. ขึ้นอยู่กับค่า TDS ของแหล่งรับรองน้ำ กำหนดการวิเคราะห์ที่ 103 oC 3,000 มก./ล. กรณีระบายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

5,000 + TDS กรณีระบายลงสู่แหล่งน้ำที่มีค่า TDS มากกว่า 3,000 มก./ล. โดยกำหนดการวิเคราะห์ที่ 180 oC

TSS 50-150 มก./ล. 50 มก./ล.
ซัลไฟด์ วิเคราะห์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ วิเคราะห์  ซัลไฟด์ทั้งหมด
BOD 20 มก./ล. ยกเว้นที่ 60 มก./ล. สำหรับโรงฆ่าสัตว์,แป้ง,สิ่งทอ,โรงงานสารเคมี 20 มก./ล โดยไม่มีข้อยกเว้น
COD 120 มก./ล. การยกเว้นที่ 400 มก./ล. สำหรับโรงงานเครื่องปรุงอาหาร,สิ่งทอ,เยื่อและกระดาษ,หนังสัตว์ 120 มก/ล. โดยไม่มีข้อยกเว้น
วิธีการเก็บตัวอย่าง เก็บตัวอย่างแบบจ้วงสำหรับกรณีที่เป็นโรงงาน และเก็บตัวอย่างแบบผสมรวมกรณีที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม เก็บตัวแบบจ้วงสำหรับทุกกรณี

สรุปนโยบายสิ่งแวดล้อมประเทศไทย โดยนายชยาวีร์ หวังเจริญรุ่ง ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560