การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Environment, Health and Safety compliance) ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ทุกวันนี้บริษัทต่างๆ เริ่มหันมาใช้นโยบายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EHS) มากขึ้น ซึ่งนโยบายดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 หรือนโยบายสีเขียว (Green Policy) ของบริษัท เป็นที่ทราบกันดีว่าหากธุรกิจใดๆ ทำลายสิ่งแวดล้อม จะมีผลเสียตามมาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเสียค่าปรับทางเศรษฐศาสตร์ (Economic penalty หรือการเสียเปรียบทางการค้า เช่น ขายของราคาเท่ากับคู่แข่ง แต่คู่แข่งมีต้นทุนที่ถูกกว่า) ไปจนถึงถูกระงับการประกอบกิจการ  การปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่น มาตรฐาน และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EHS) ที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างธุรกิจของท่านให้ยั่งยืนต่อไปในวันข้างหน้า

 

บริการของเรา

เอ็นวิกซ์ เอเชีย ร่วมมือกับบริษัทแม่ของเรา บริษัท เอ็นวิกซ์ (ประเทศญี่ปุ่น) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น ให้บริการด้านการจัดการกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับประเทศที่ลูกค้ากำลังทำธุรกิจอยู่ พัฒนารายการตรวจสอบกฎหมายในภาษาต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของนโยบายของสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EHS) เรายังนำเสนอแผนและกลยุทธ์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายสากล หลังจากทำรายการตรวจสอบ EHS แล้ว เราเชื่อมั่นว่าจะทำให้ลูกค้ามีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นเจริญเติบโตตามไปด้วย  แต่สิ่งที่ตามมาคือการเกิดปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ   ไม่ว่าจะเป็น มลพิษทางอากาศที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมและก๊าซไอเสียรถยนต์   มลพิษทางน้ำในเขตแม่น้ำเจ้าพระยาและเขตเมือง   นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดของเสียที่ต้องได้รับการจัดการเพิ่มมากขึ้น ( เช่น ของเสียจากอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์  ฯลฯ ) อีกทั้ง  มลพิษเสียง ก็ยังเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
ปัจจุบัน ความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของประชาชนนั้นเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากมีการดำเนินการฟ้องร้องจากผู้ได้รับผลกระทบ  เช่น มีการดำเนินการฟ้องร้องจากผู้อยู่อาศัยบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง จากปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้น เนื่องจากสารเคมีอันตรายที่ออกมาจากโรงงาน

 

กฎหมายในประเทศไทย

 

 กฎหมาย

ลักษณะ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ด้านมลพิษน้ำ มลพิษอากาศ การจัดการของเสีย การสั่นสะเทือน  ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีอำนาจ คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 วัตถุประสงค์เพื่อรักษาความปลอดภัยของโรงงาน และป้องกันสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่คือกระทรวงอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการสารเคมีอันตรายในประเทศไทย โดยควบคุมการผลิต การนำเข้า การส่งออก  และการครอบครองสารอันตราย หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่คือกระทรวงอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่คุ้มครองด้านสุขลักษณะและการอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของประชาชน หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ คือ กระทรวงสาธารณสุข
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เป็นกฎหมายที่ค่อนข้างใหม่ที่เพิ่งประกาศใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ คือ กระทรวงแรงงาน
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 เป็นกฎหมายพื้นฐานที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยควบคุมการประหยัดพลังงานของโรงงาน อาคาร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ คือ กรมพลังงาน

 

ทั้งนี้ ยังมีกฎหมาย อีกจำนวนมาก ที่อธิบายถึงรายละเอียดของกฎหมายข้างต้น โดยนอกจากกฎหมายข้างต้นแล้ว ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่บังคับใช้ระดับประเทศ เช่น

พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520
พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

 

ตัวอย่างปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

  1. เหตุการณ์ปลากระเบนตาย ที่แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษ ได้สรุปสาเหตุว่าเกิดจากการปล่อยน้ำเสียของโรงงานราชบุรีเอทานอล ทำให้แอมโมเนียในน้ำสูง เป็นพิษต่อปลากระเบนเฉียบพลัน

 

  1. โรงฟอกหนัง บริเวณปากอ่าวไทย สมุทรปราการ ปล่อยน้ำทิ้งสีดำลงสู่อ่าวไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 โดยเมื่อชุมชนบริเวณโดยรอบได้ทำการร้องเรียน ต่อหน่วยงานท้องถิ่นและภาครัฐ ก็ได้คำตอบว่า คุณภาพน้ำอยู่ในมาตรฐาน ไม่มีสารพิษเจือปน มีเพียงสีเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรฐานน้ำทิ้งของไทยไม่ได้ระบุถึงมาตรฐานสีอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้เกิดการแก้ไขในเวลาต่อมา

 

  1. เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วจากท่อรับน้ำมันดิบกลางทะเล ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ทำให้ทะเลเกิดคราบน้ำมันเป็นบริเวณกว้าง

 

  1. นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี เกิดเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหล เมื่อเดือน ตุลาคม 2560 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ใช้มาตรา 39 ตาม พรบ.โรงงาน สั่งให้บริษัทที่เกิดเหตุดังกล่าว หยุดการประกอบกิจการ 30 วัน เพื่อตรวจสอบความเสียหายและปรับปรุงระบบการผลิต ให้ได้ตามมาตรฐานความปลอดภัย

 

  1. มีผู้พลัดตกบ่อบำบัดน้ำเสีย เสียชีวิต จำนวน 5 ราย ภายในบริษัทแถวบางนา – ตราด กรุงเทพมหานคร  โดยบริเวณเกิดเหตุพบว่ามีกลิ่นฉุนของก๊าซไข่เน่าตลอดเวลา

 

เหตุการณ์เหล่านี้ เป็นเพียงตัวอย่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดในประเทศไทย  ปัจจุบันการกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนมีความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม  สังเกตได้จากกฎหมายต่าง ๆที่ออกมา ทำให้โรงงานและบริษัทต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องสร้างระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ

 

รายการตรวจสอบกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (สำหรับประเทศไทยและประเทศต่างๆ)

รายการตรวจสอบกฎระเบียบฯ จากเอ็นวิกซ์ เป็นเครื่องมือบ่งชี้รายการกฎหมายที่จะช่วยให้การปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EHS) ของบริษัทให้ก้าวสู่ความเป็นสากลได้

ความโดดเด่นของแบบรายการตรวจสอบที่เราออกแบบ

  • รายการตรวจสอบที่จัดทำขึ้นเฉพาะ (custom-made) โดยพิจารณาจากประเทศที่ดำเนินธุรกิจ ลักษณะธุรกิจ สิ่งแวดล้อมด้านที่สนใจ (น้ำ อากาศ ดิน เสียง การสั่นสะเทือน กลิ่น การจัดการของเสีย การจัดการสารเคมี การอนุรักษ์พลังงาน ความปลอดภัยในการทำงาน และอื่นๆ) หรือตามที่ลูกค้าต้องการ
  • รายการตรวจสอบในภาษาที่หลากหลาย (ญี่ปุ่น ไทย อังกฤษ จีน สเปน หรือภาษาท้องถิ่นตามประเทศที่ตั้งของธุรกิจนั้นๆ)

 

ตัวอย่างเช่น รายการตรวจสอบตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมไทย  (มี 3 ภาษา ได้แก่ ญี่ปุ่น อังกฤษ และไทย)

 

ฐานข้อมูลกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของเอ็นวิกซ์ – ประเทศไทย

เอ็นวิกซ์ได้พัฒนา “ระบบฐานข้อมูลกฎหมายสิ่งแวดล้อม” เป็นรูปแบบของเอ็นวิกซ์โดยเฉพาะ เพื่อรองรับความต้องการข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตจากญี่ปุ่นที่มีโรงงานตั้งอยู่ในประเทศไทย ฐานข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้

  • เข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EHS) ของประเทศไทยในภาษาญี่ปุ่น
  • เข้าถึงข้อกฎหมายด้วยกฎหมายภาษาไทยที่เป็นต้นฉบับ ฉบับที่แปลภาษาอังกฤษ และ/หรือ ภาษาญี่ปุ่น
  • รายการตรวจสอบตามกฎหมายไทยที่เป็นภาษาญี่ปุ่น

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่ http://www.envix.co.jp/law/thai/ (ภาษาญี่ปุ่น)

 

การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย – ประเทศไทย

บริษัทในระดับสากลจะดำเนินการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรฐานเฉพาะขององค์กรนั้นๆ  ด้วยความร่วมมือระหว่างเอ็นวิกซ์ เอเชีย กับบริษัทแม่ของเรา บริษัท เอ็นวิกซ์ (ประเทศญี่ปุ่น) จำกัด สามารถรองรับลูกค้ากลุ่มนี้ได้ด้วยการบูรณาการมาตรฐาน EHS ขององค์กรเหล่านั้นกับกฎระเบียบของประเทศไทย

บริการเกี่ยวกับการตรวจประเมินระบบ EHS ของเอ็นวิกซ์ เอเชีย ทีมงานของเราช่วยสนับสนุนให้ทีมงานตรวจประเมินที่มีอยู่เดิมของท่านเป็นไปตามมาตรฐานระบบ ISO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ EHS ตั้งแต่การทบทวนระบบการดำเนินงานของ EHS ที่มีอยู่เดิมของลูกค้า ได้แก่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระเบียบปฏิบัติ การบันทึกผล และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง

ระหว่างดำเนินโครงการร่วมกัน เราเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้จัดการจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ให้กับผู้จัดการด้านสิ่งแวดล้อมจากประเทศไทย โดยการนำเสนอรายละเอียดแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EHS) ของไทยในภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย