เอ็นวิกซ์ เอเชีย เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้บริการด้านการสำรวจและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว  หรือ One Stop Service : OSS  โดยทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากประเทศญี่ปุ่นและไทย เรามีบริการให้คำแนะนำ จัดทำรายงาน ประเมินทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน ติดตั้งบ่อสังเกตการณ์ เก็บตัวอย่างดินและน้ำใต้ดิน วิเคราะห์ตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ รายงานผลการตรวจสอบ วางแผนการดำเนินการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดิน รวมถึงดำเนินการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินแบบครบวงจร ตามมาตรฐานของญี่ปุ่น และมาตรฐานดินและน้ำใต้ดินระดับนานาชาติ ซึ่งครอบคลุมกฎหมายดินและน้ำใต้ดินของไทย ด้วยความเชี่ยวชาญทางด้านนี้เราจึงพร้อมให้บริการโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองกฎหมายใหม่ของประเทศไทย

จาก “กฎกระทรวงควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๙” และ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดเกณฑ์การปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน การตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน การแจ้งข้อมูล รวมทั้งการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน และรายงานเสนอ มาตรการควบคุมและมาตรการลดการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙”  

กฎกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศกระทรวงฯ ควบคุมดินและน้ำใต้ดิน และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม

กฎหมายข้างต้นนี้ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับมลพิษดินและน้ำใต้ดินฉบับใหม่ที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติโรงงานโดยมี  โรงงานในกลุ่มเป้าหมายทั้ง 12 ประเภท* ตรวจสอบว่ากิจการของท่านต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้หรือไม่ ?

โรงงานในกลุ่มเป้าหมายทั้ง 12 ประเภท*

ประเภทโรงงาน ลักษณะการประกอบกิจการ ขนาดโรงงาน
22 (1) (2) (3) (4) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสิ่งทอ ด้าย หรือ เส้นใยซึ่งมิใช่ใยหิน (Asbestos) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง โรงงานจำพวกที่ 3
38 (1) (2) โรงงานผลิตเยื่อหรือกระดาษอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง โรงงานจำพวกที่ 3
42 (1) (2) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมีซึ่งมิใช่ปุ๋ยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โรงงานจำพวกที่ 3
45 (1) (2) (3) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสี (Paints) น้ำมันชักเงา เชลแล็ก แล็กเกอร์หรือผลิตภัณฑ์สําหรับ ใช้ยาหรืออุดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โรงงานจำพวกที่ 3
48 (1) (2) (3) (4) (6) (12) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เคมี อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โรงงานจำพวกที่ 3
49 โรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โรงงานจำพวกที่ 3
60 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับถลุง ผสม ทําให้ บริสุทธิ์หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตโลหะในขั้นต้น ซึ่งมิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า (Non-ferrous Metal Basic Industries) โรงงานจำพวกที่ 3
74 (1) (4) (5) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โรงงานจำพวกที่ 3
100 (1) (2) (5) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการตบแต่งหรือเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์โดยไม่มีการผลิต อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โรงงานจำพวกที่ 3
101 โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central Waste Treatment Plant) โรงงานจำพวกที่ 3
105 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือ ฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีลักษณะ และคุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ โรงงานจำพวกที่ 3
106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนําผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม โรงงานจำพวกที่ 3

อ้างอิงจาก กฎกระทรวง ควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๙

ทำอย่างไร เมื่อเป็นหนึ่งในโรงงาน 12 กลุ่มเป้าหมาย

  • ทำการสำรวจการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน
  • ส่งรายงานการสำรวจให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรมจังหวัด

และเมื่อพบการปนเปื้อนในบริเวณโรงงาน ทางโรงงานจะต้อง

  • จัดทำรายงานเสนอมาตรการควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน และมาตรการลดการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินส่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่

เอ็นวิกซ์ เอเชีย พร้อมช่วยให้โรงงานของท่านดำเนินตามข้อกฎหมายได้
โดยมีขั้นตอนการทำงาน
4 ขั้นตอน ดังนี้


ขั้นตอนที่
1 การประเมินข้อมูลของพื้นที่เบื้องต้น 

ทีมงานของเราจะเข้าเยี่ยมชมโรงงานเพื่อรวบรวมข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่และสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น แล้วนำไปสู่ขั้นตอนที่ 2


ขั้นตอนที่
การวางแผนการสำรวจดินและน้ำใต้ดิน

แผนการสำรวจดินและน้ำใต้ดินจะถูกพัฒนาขึ้นในขั้นตอนที่ 2 จากข้อมูลที่ได้รวบรวมและวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 ในขั้นตอนนี้ เราจะได้

  • ข้อเสนอจุดและวิธีการเก็บตัวอย่างดิน
  • ข้อเสนอตำแหน่งติดตั้งบ่อสังเกตการณ์ซึ่งได้จากการประเมินทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน
  • การบ่งชี้สารเคมีที่เป็นอันตรายและคำนวณเกณฑ์การปนเปื้อนที่ยอมรับได้ภายในบริเวณโรงงาน
Annex 3 Format

แบบฟอร์มรายงานแนบท้าย ภาคผนวกที่ ๓

Groundwater flow direction

ตัวอย่างผลการหาทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน

ขั้นตอนที่ การสำรวจการปนเปื้อนตามแผนที่ได้กำหนดไว้

เมื่อได้วางแผนสำรวจดิน

และน้ำใต้ดิน ในขั้นตอนที่ 2 แล้วเสร็จ ก็จะดำเนินการตามขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นการสำรวจและเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนตามแผนที่ได้กำหนดไว้ โดยมีขั้นตอนประกอบด้วย

  • การติดตั้งบ่อสังเกตการณ์
  • การเก็บตัวอย่างดินและน้ำใต้ดิน
  • การวิเคราะห์ตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ
  • การรายงานผลการวิเคราะห์

ขั้นตอนที่ การวางแผนและมาตรการการควบคุมและฟื้นฟูเมื่อกรณีพบการปนเปื้อน 

เมื่อพบว่ามีการปนเปื้อนเกิดขึ้น ท่านมีความจำเป็นที่จะต้องจัดส่งรายงานเพื่อเสนอมาตรการควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินและมาตรการลดการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินให้ไม่สูงกว่าเกณฑ์การปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินให้กับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เอ็นวิกซ์ เอเชีย สามารถให้การสนับสนุนท่านโดยการ

  • จัดทำรายงานเสนอมาตรการควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินและมาตรการลดการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินให้ไม่สูงกว่าเกณฑ์การปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน
  • ดำเนินการตามมาตรการควบคุมการปนเปื้อนและมาตรการลดการปนเปื้อน (ถ้ามี)

 

ทำเมื่อไหร่ ?


นอกจากนี้ เรายังมีบริการการสำรวจตามกฎหมาย หากลูกค้าต้องการสำรวจเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจเพื่อฟื้นฟูสภาพดินในพื้นที่ การซื้อขายกิจการ (M&A) การซื้อขายที่ดิน หรือในส่วนของการรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และการจัดการสิ่งแวดล้อมโรงงาน เอ็นวิกซ์ เอเชีย สามารถให้บริการเพิ่มเติมในส่วนของการปรึกษาเกี่ยวกับดินและน้ำใต้ดินตามความต้องการของลูกค้า ดูตัวอย่างโครงการหากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อเรา